วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Stroke โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คืออะไร................
อาจแบ่งง่ายเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
1.    Ischemic stroke หรือ เส้นเลือดสมองตีบ ตัน อุดตัน อยากเรียกอะไรก็ได้คะ ชนิดของการรักษาขึ้นกับเวลาที่เป็นเปินหลัก ทำให้เกิดประโยคเด็ดที่สื่อสารให้ทุกคนเข้าใจตรงกันว่า “Time is the Brain”
2.  Hemorrhagic stroke หรือ เส้นเลือดสมองแตก จะแตกที่เยื่อหุ้มสมอง ใต้เยื่อหุ้มสมอง ในเนื้อสมอง ช่องน้ำไขสันหลังก็ได้คะ ก็แตกเหมือนกัน แต่รักษาไม่เหมือนกันขึ้นกับตำแหน่งที่แตกคะ

รู้ได้ไง ว่าเราหรือญาติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
ง่ายๆๆ คะ act “FAST”

คลิ๊กเข้าไปเลยคะ
สนุกดีคะ เป็นการ์ตูนที่สอนวิธีดูว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองสำหรับประชาชนทั่วไป
ง่ายๆ FAST ย่อมาจาก
F= Face หน้าเบี้ยวไหม
A=Arm แขนมือตกไม่มีแรง อ่อนแรง
S= Speech พูดไม่ชัด พูดไม่ออก ฟังคนไม่รู้เรื่อง
T= Time เกิดกระทันหัน ทันที เช่น เดินๆๆ คุยๆๆ ตื่นมา มีอาการผิดปกติ ดูทันที่เลยคะ ว่าเกิน 3 ชั่วโมงหรือยัง ถ้ายังไม่เกินรีบพาส่งแพทย์เพื่ออาจต้องพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือไม่คะ



แต่ถ้าอยากรู้แบบยากขึ้นอีกก็........................งง..............ค่อยๆ จำไปทีละนิดนะคะ
หลอดเลือดอาจแบ่งเป็นหลอดเลือดส่วนหน้ากับส่วนหลังคะ
หลอดเลือดด้านหน้าเลี้ยงลูกตาและสมองส่วนหน้าด้านเดียวกัน   คงจะเอ้........หมอเนี้ยะเขียนกำกวมจริงๆๆ อันนี้แปลตามรากศัพท์เลยนะคะ
สมองส่วนหน้าแบ่งเป็นด้านซ้ายและขวา
สมองหน้าขวารับรู้และสั่งงานร่างกายซีกซ้าย สมองหน้าขวาเลี้ยงหรือสั่งงานร่างกายซีกซ้าย
เพราะฉะนั้นถ้าร่างกายเราหน้าเบี้ยวขวา แขนขวา ขาขวาอ่อนแรง ส่วนใหญ่มักเป็นจากสมองด้านไหนคะ
 เก่งคะ คำตอบคือ สมองซ้าย ถูกต้องไหมคะ
ที่นี้พอเข้าใจแล้วก็ เริ่มยากอีกนิดคะ
ส่วนใหญ่คนทั่วไปถนัดขวา หมายถึงชอบใช้มือขวาเขียนหนังสือ ยกของหนักๆ ไม่มีในตำรานะคะว่ารวมล้างก้นหรือป่าว ฮิฮิ
เพราะฉะนั้นศูนย์ภาษาของคนเราส่วนใหญ่จึงอยู่ด้านซ้ายของสมองหน้านั่นเองคะ ที่นี้คนที่มีอ่อนแรงแขนขวาอาจมีปัญหาเรื่องภาษา คือ อาจพูดไม่ออก ฟังไม่รู้เรื่อง ทำให้เจ้าตัวบอกใครไม่ได้ ฟังคนอื่นก็ไม่รู้เรื่องทำให้บางคนน่าสงสารมากคะเพราะถูกจับส่งรพ.ทางจิตแทนที่จะส่งให้หมอทางสมอง  จึงต้องเดือนร้อนคนรอบข้าง ไม่ว่า ญาติ พ่อ แม่ พี่ น้อง ภรรยา ไม่เว้นเพื่อนร่วมงานะคะ ช่วยกันพาส่งโรงหมอนั่นเอง
                บางคนอาการอ่อนแรงของแขนซ้าย อาจมีร่วมกับเดินชนของทางซีกซ้ายตลอด เช่น ตู้ โต๊ะ ของในบ้านตลอด เนื่องจากการรับรู้สิ่งแวดล้อมซีกซ้ายเสียไป เนื่องจากสมองซีกขวาผิดปกติ คนไข้มักไม่ค่อยรู้ตัวว่าตนเองป่วยคะ เพราะเป็นด้านที่รับรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เมื่อไม่รับรู้ ก็ไม่รู้ว่าตัวเองป่วย ฟังแล้วงงไหมคะ  ยกตัวอย่างง่ายๆๆ เช่น คนไข้บางคนมานอนรพ. เดี้ยงไปแล้วครึ่งซีกซ้าย ถามว่าเป็นอะไรมาผู้ป่วยตอบสบายดี
                ส่วนระยะเวลาว่าทำไมบางคนเป็นแป็บเดียว บางคนเป็นนานไม่หาย เกิดได้อย่างไร ก็ขึ้นบุญเคราะห์ของแต่ละคนคะ
ล้อเล่นคะ ก็อย่างที่บอกไปในเรื่องโรคหลอดเลือดแข็งคะ ว่า ถ้าก้อนเลือดที่อุดตันเล็กๆๆ ร่างกายสามารถละลายก้อนเลือดนั้นเองได้ อาการอาจเป็นแค่ 5-10 นาทีก็หาย แต่ถ้าก้อนเลือดใหญ่มากโอกาสที่เนื้อสมองจะตายวงกว้างก็มีมากขึ้นคะ
สรุปง่ายๆๆ คือ

อาการของหลอดเลือดสมองหน้า
ตามัวดับ
ชา อ่อนแรงหน้า แขน ขา ด้านตรงข้าม

ส่วนอาการหลอดเลือดสมองหลัง
มักมีเวียนศีรษะร่วมกับเดินเซ
อาจมีเห็นภาพซ้อน หรือ อ่อนแรงชา
 ไม่รู้ว่า เขียนเยอะทำให้งงมากกว่าเดิมหรือป่าวนะคะ ฮุฮุ





3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ ภาษาเข้าใจง่ายดีค่ะ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณคะ ย้อนมาอ่าน ยังคิดว่าขำไปหรือป่าวคะ

    ตอบลบ
  3. Current stroke treatment focuses on restoring blood flow to the brain to stop further cell and tissue damage. However, only one drug has FDA approval for the clinical treatment of stroke, called tPA.

    The time in which tPA can be helpful is short - at most only FOUR AND A HALF HOURS after the stroke. This is probably the reason LESS THAN 10 percent of stroke patients are treated with tPA.

    The drug also has its own dangers. It can cause bleeding in the brain and the restored blood flow itself can cause more tissue damage by increasing inflammation and the destructive molecules known as free radicals.

    สรุปว่า ยังมีความเป็นไปได้ที่ไม่แพร่หลายสำหรับการรักษา stroke ด้วยยาตัวนี้ เพราะมีข้อจำกัดจากเงื่อนไขของเวลาที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์หลังจากสงสัยว่า เป็น stroke หรือไม่ และถ้าผู้ป่วยอายุยิ่งมาก การใช้ยาตัวนี้ก็ยิ่งมีข้อจำกัด ดังนั้น การค้นคว้าหาวิธีการรักษาผู้ป่วย stroke แบบอื่นๆ ที่ได้ผลเป็นที่ยอมรับได้ และไม่ติดเงื่อนไขเวลามากนัก เช่น ยอมให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์เมื่อเป็นไปแล้วมากกว่า 24 ชั่วโมงหรือมากกว่า ก็จะช่วยผู้ป่วยได้มากขึ้นหรือแพร่หลายมากยิ่งขึ้น แล้วจะมีวิธีใด มีคำตอบ

    นพ. ธานี สาขากร

    ตอบลบ