SLE – IHS ( Intracranial Hypertension Syndrome) / PC ( Pseudotumor Cerebri)
SLE เป็นหนึ่งในโรคเรื้อรัง systemic connective tissue diseases ที่พบบ่อยที่สุด ทำให้มีการอักเสบในหลายระบบของร่างกาย เช่น ระบบผิวหนัง กระดูกและข้อ ไต สมอง หัวใจ ปอด ลำไส้ 4 ใน 11 criteria ซึ่งรวม ANA อาการทางระบบประสาทสามารถพบได้ประมาณ 20-70% อาการที่พบบ่อย คืออาการของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น อาการทางจิตเวช กระวนกระวาย หลงผิด สับสน ชัก เส้นเลือดสมองตีบ ไขสันหลังอักเสบ เคลื่อนไหวผิดปกติ (Chorea) อาการของระบบประสาทส่วนปลาย เช่น ชาปลายมือเท้า จากเส้นประสาทอักเสบ อื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ พาร์กินสัน ความดันน้ำไขสันหลังสูง (Pseudotumor cerebri/ Intracranial hypertension syndrome) เป็นต้น อีกหนึ่งที่พบได้แต่น้อยที่จะกล่าวถึงวันนี้คือ IHS ( Intracranial Hypertension Syndrome) แต่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากอาการปวดศีรษะในโรคเอสแอลอีได้
ตัวอย่างผู้ป่วย
34 ปี ผู้หญิง ปวดศีรษะ แขนขาบวม มา 1 เดือน ปวดศีรษะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 1 สัปดาห์ก่อนมารพ. การมองเห็นแย่ลง คลื่นไส้และอาเจียน ตรวจร่างกาย ไม่มีไข้ หรือ มีไข้ต่ำๆ ความดันโลหิตปกติ มีผื่นแดงทั่วหน้า แขนขาที่โดนแดด หน้าและแขนขาบวม ตรวจตาพบจอประสาทตาบวม (Papilledema ) มองเห็นชัดลดลง (Decreased Visual Acuity) ลานสายตา(Visual fields)ปกติ ตรวจร่างกายทางระบบประสาทอื่นปกติ
ตรวจเอกซเรย์สมอง(CTV / MRV Brain) ไม่พบก้อนเนื้องอกหรือหลอดเลือดดำอุดตันในสมอง(Cerebral venous thrombosis) อาจพบสมองบวมได้
ตรวจเลือดพบ ESR สูง เม็ดเลือดปกติ ตรวจปัสสาวะพบโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ANA positive high titer ( 1: 640-10,000), antiRo,antiSSA, anti-dsDNA , antiRNP negative, complements level decreased, ระดับฮอร์โมนอยู่ในระดับปกติ ( TSH, T3, FT4)
เจาะน้ำไขสันหลัง พบ ความน้ำไขสันหลังสูง (normal <200mmH2O), CSF oligoclonal band(OB) positive
การวินิจฉัยและรักษา
ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเอสแอลอีที่มีภาวะแทรกซ้อนIHS และมีอาการความดันในกระโหลกสูงรุนแรงอาจทำให้สมองบวมกดก้านสมอง จนทำให้ซึมลง และเสียชีวิตได้ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องนอนรพ. และจำเป็นต้องให้ยายุบบวมสมองเพื่อลดอัตราการตาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น