วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปวดศีรษะ ไมเกรน - โรคหลอดเลือดสมอง Headache ; Migraine, Tension Headache - Stroke

หลายคนที่เป็นไมเกรน อาจมีความกังวลว่า ปวดศีรษะบ่อยจะทำให้เป็นอัมพฤตอัมพาตได้หรือไม่ วันนี้เลยสรุปบทความที่น่าสนใจมาให้อ่านกัน สนุกๆ คะ ขอบคุณแหล่งที่มา Lancet Neurol 2011; 11 : 92-100 ชื่อหัวข้อ Migraine and stroke: a complex association with clinical implications ปวดศีรษะ คืออะไร ??? คือ ความรู้สึกปวดที่ หน้า ศีรษะ ถึง คอ มีสาเหตุจากอะไรบ้าง ??? สาเหตุแบ่งใหญ่ๆ เป็น ปวดศีรษะที่มีสาเหตุ เช่น ปวดตาต้อหิน ความดันโลหิตสูง อุบัติเหตุทางสมอง เนื้องอกในสมอง ปวดฟัน ปวดกรามข้อต่อขากรรไกร แต่ส่วนใหญ่ 90%มักปวดศีรษะไม่ทราบสาเหตุ สามารถปวดแปล๊บเดียว เป็นพักๆ หรือ ปวดเรั้อรังก็ได้
ไมเกรนคืออะไร ??? ไมเกรนและโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน ยังไม่การศึกษายืนยันชัดเจนว่า ไมเกรนที่ไม่มีออร่า มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง แต่กลับพบว่า ไมเกรนมีออร่าพบความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นสองเท่า สมาคมInternational Headache Society(IHS) แบ่งไมเกรนเป็น 2 ชนิด 1.ไมเกรนที่ไม่มีออร่า 2.ไมเกรนมีออร่า จะพบแค่ 1 ใน 3 เท่านั้น โดย 33% พบว่ามีอาการไมเกรนทั้งสองแบบ เพิ่มเติมจากบทความนะคะ ขอบคุณรูปจากหนังสือ Headache ว่า ต้นเหตุของไมเกรน คือ pain center หรือ แกนสมองที่ศูนย์ควบคุมความเจ็บปวด ได้รับการกระตุ้น ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ระบาดวิทยา ปัจจัยเสี่ยงอัมพฤต อัมพาต??? มีหลายการศึกษาพบว่า ไมเกรนเพิ่มอัตราการเป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบประมาณ 2 เท่า โดยเฉพาะในการศึกษาไปข้างหน้าพบว่า กลุ่มที่เสี่ยงคือ กลุ่มที่มีไมเกรนแบบมีออร่า และ กลุ่มที่เสี่ยงสูงสุดคือ กลุ่มที่มีปวดศีรษะบ่อยๆ สูงมากขึ้นในคนที่สูบบุหรี่ และยิ่งสูงมากๆ เป็น 10 เท่าใน ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดและสูบบุหรี่ มีรหัสพันธุกรรมที่พบว่า อาจมีความสัมพันธ์ในการเพิ่มโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มไมเกรนที่มีออร่า เช่น MTHFR, ACE, MEPE ซึ่งยังต้องรอการศึกษาต่อไปว่าทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างไร เอกซเรย์ของคนที่เป็นไมเกรนเป็นอย่างไร??? พบว่าถ้าทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็ก หรือ MRI ในคนที่เป็นไมเกรนจะพบ จุดเล็กๆ ที่ตำแหน่งปลอกหุ้มประสาทในสมอง มากกว่าคนปกติ 4 เท่า โดยพบว่า จุดพวกนี้มีความสัมพันธ์กับปริมาณการความรุนแรง ความถี่ของการปวดศีรษะไมเกรน โดยการศึกษา CAMERA พบว่า ไมเกรนที่มีออร่า มีความสัมพันธ์กับเส้นเลือดสมองตีบที่ก้านสมอง และสมองส่วนcerebellum แต่จากศึกษาของประเทศฝรั่งเศสพบว่ายิ่งคนที่อายุตั้งแต่ 65 ปี ที่มีไมเกรนออร่า มีความสัมพันธ์กับเส้นเลือดสมองตีบนอกก้านสมองด้วย ไมเกรน สัมพันธ์กับ เส้นเลือดแตก หรือ ตีบ ??? ไมเกรนออร่า เกี่ยวข้องการยืดย่น หดขยายของเส้นฝอยทั่วสมองเสีย จึงเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเส้นเลือดสมองแตก ตีบ โดยพบว่า ไมเกรนออร่ามี ปัจจัยเสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกเพิ่มขึ้น 2.25 เท่า โดยเส้นเลือดสมองตีบจะพบเพิ่มขึ้นในคนสูงอายุขึ้น โดยมักเป็นที่ตำแหน่งเส้นเลือดฝอยในสมอง ซึ่งยังต้องรอการศึกษาเรื่องสมมุติฐานการต่อไป การศึกษาไปข้างหน้า 2785 หญิงวัยกลางคน พบว่า ไมเกรนมีความสัมพันธ์กับเส้นเลือดสมองตีบ 1.5 เท่า เมื่อไรต้องเอกซเรย์ MRI ??? ควรทำ ในผู้ป่วยที่มีออร่าที่ไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของไมเกรนออร่า , ไมเกรนออร่าในผู้สูงวัย , มีปวดศีรษะบ่อยๆ มีปวดศีรษะด้านตรงข้ามกับออร่าด้านตรงข้าม ซึ่งบ่งว่าเป็นจากการทำงานของสมองด้านนั้นทำงานผิดปกติ
จะทำอย่างไรเมื่อเป็นไมเกรน??? แนะนำเมื่อเป็นไมเกรน ควรได้การตรวจตา ตรวจระบบประสาท เอกซเรยสมอง ตรวจหลอดเลือดสมอง เช่น อัลตร้าซาวด์หลอดเลือดสมอง(TCD Study) และ คอ (Carotid Duplex)เพราะถ้าพบผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น (atheroma) การรับประทานแอสไพรินขนาดเล็กน้อยช่วยป้องกันเส้นเลือดสมองตีบได้ และยังพบว่าช่วยลดไมเกรนให้น้อยลงได้ และการควบคุมปัจจัยตั้งแต่เนิ่นๆที่ยังไม่มีอาการสามารถลดอัมพาตที่รุนแรงได้ ในคนที่อายุน้อย จำเป็นที่สมควรหาสาเหตุ และติดตามใกล้ชิด เช่น ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย ไขมันในเลือดสูงซึ่งอาจจำเป็นต้องรับประทานยาไขมัน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ แนะนำให้หยุดบุหรี่ และ เลิกรับประทานฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดกลุ่มที่มีเอสโตรเจนไมเกรนที่ไม่มีออร่า ไม่ได้เพิ่มปัจจัยเสี่ยงหรือมีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมองชัดเจน นอกจากค้นหาปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ไขมันในเลือด ในคนที่เป็นไมเกรนออร่าควรได้รับการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง และป้องกัน เช่น ให้หยุดบุหรี่ เปลี่ยนการคุมกำเนิดชนิดที่มีเอสโตรเจนเป็นชนิดโปรเจสโตเจน ในคนที่นานๆ ปวดศีรษะ มักไม่จำเป็นต้องรับประทานยาป้องกัน และการรับประทานยาป้องกันไมเกรนยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าป้องกันอัมพฤต อัมพาตได้ ยังไม่มีข้อบ่งชี้ในการให้แอสไพรินในคนที่เป็นไมเกรนออร่าที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อป้องกันเส้นเลือดสมองตีบ เพราะมีโอกาสเลือดออกเพิ่มขึ้นเช่นกัน อ่านแล้ว หวังว่า จะทำให้เข้าใจ โรคปวดศีรษะมากขึ้น ไม่มากก็น้อยนะคะ ^^

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ชาคางและลิ้น เป็นจากอะไร

หญิง 70 ปี ชาลิ้นและคาง ริมฝีปากซ้าย นาน 3 เดือน

ภาษาหมอเรียก Numb Chin Syndrome ( NCS) หรือ บ้านๆ เรียก เส้นประสาทรับความรู้สึกที่คางอักเสบ ( mental neuropathy)

เส้นประสาทส่วนคางนี้ เรียก mandibular branch of trigeminal nerve แบ่งเป็น ด้านหน้า(anterior) กับ ด้านหลัง(posterior)

anterior trunk เลี้ยงกล้ามเนื้อที่ใช้เคี้ยวอาหาร(muscles of mastication)และรับความรู้สึกของแก้ม
posterior trunk แบ่งเข้าไปรับความรู้สึก ในหู(auriculotemporal nerve), ลิ้น(lingual nerve), ฟันเหงือกด้านล่าง(inferior alveolar nerve)

ผ่านทาง mandibular canal exits mental foramen at canine teeth รับความรู้สึก ฟัน เหงือกด้านนอก ริมฝีปากล่าง คาง

พบได้น้อยมาก ที่จะเป็นเฉพาะเส้นประสาทเส้นเดียว posterior trunk of mandibular branch นี้

สาเหตุจากอะไรได้บ้าง

1. มะเร็งกระจายมากดทับที่ inferior alveolar nerve จากมะเร็งในร่างกาย เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด โดยมะเร็งที่พบบ่อยว่าจะกระจายมาคือ ในผู้หญิง มากสุดคือ มะเร็งเต้านมตามด้วย มะเร็ง ต่อมหมวกไต สำไล้ใหญ่ สืบพันธ์เพศหญิง ไทรอยด์ ส่วนผู้ชายคือ มะเร็งปอด ตามด้วย ต่อมลูกหมาก ไต กระดูก ต่อมหมวกไต
โดยมักมาด้วย อาการ ปวด บวม ชาแสบร้อนตามแนวลิ้น ริมฝีปากล่าง เหงือก พบว่า ผู้ป่วยอาจไม่มีประวัติมะเร็งนำมาก่อนได้ถึงประมาณ 30% และมีโรคประจำตัวเป็นมะเร็งอยู่เดิม 50% มะเร็งที่กระจายมาที่กราม ซึ่งบางครั้้งอาจมีกระจายมาที่รากประสาทและปุมประสาทได้ หรือ เกิดจากการกระจายมาที่เยื่อหุ้มสมองที่ฐานกระโหลกได้ โดยส่วนใหญ่พยากรณ์ขึ้นกับชนิดของมะเร็ง
ข่าวร้ายคือ มะเร็งที่กระจายมาที่เส้นประสาทบริเวณขากรรรไกรนี้ ถ้ามีขนาดเล็กมักไม่สามารถมองเห็นได้จากเอกซเรย์ ทำให้อาจต้องทำการเอกซเรย์หลายอย่าง เช่น bone scan เพื่อดูจุด hot spot หรือ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI with gadolinium enhancement)ซึ่งอาจเห็นการเปลี่ยนแปลงในกระดูก( marrow signal)ที่ขากรรไกร
ข่าวดีคือถ้าพบแต่เนิ่นๆ มีการรักษาด้วยการฉายแสงเพื่อลดอาการปวดอักเสบของเส้นประสาท ทำให้อาการหายปวดแสบชาได้
เส้นประสาทที่เกิดจากกระจายมาที่เยื่อหุ้มสมองบริเวณฐานกระโหลก มักเป็น เส้นประสาทที่ 6 และ 7 ร่วมด้วย เนื่องจากอยู่ใกล้ ปมประสาทเส้นที่ 5

มะเร็งเต้มนม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดอาการ NCS ถัดมาคือ มะเร็งต่อมมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia, multiple myeloma)
เพราะฉะนั้นในผู้ป่วยกลุ่มNCSนี้ ถึงแม้ไม่มีประวัติมะเร็งก็ควรจะคิดถึงมะเร็งก่อนเสมอถึงแม้จะยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริง
ในผู้หญิง แนะนำให้ ตรวจเต้านม ทำmammogram เอกซเรย์ปอด หามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

2. อุบัติเหตุ เช่น หลังการผ่าตัดบริเวณขากรรไกร ทำฟัน เช่น รักษารากฟัน ถอนฟันกรามซี่ที่สามร่วมกับฉีดยาชาที่บริเวณนี้ ตามหลังการติดเชื้อ เนื้องอกหรือซิสต์ที่ขากรรไกร มะเร็งขากรรไกร

3. เส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงเส้นประสามอักเสบ เช่น temporal arteritis ทำให้ชาคาง ปวดขากรรไกร ปวดศีรษะ รักษาด้วย high dose prednisolone
Sjogren's syndrome(15/92) มาด้วย ชา ไม่ปวดที่คาง ลิ้น เป็นมากขึ้นจะลามไปทั้งเส้นของเส้นประสาทเส้นที่5

4. โรคปลอกหุ้มประสาทส่วนกลางอักเสบ หรือ multiple sclerosis ทำให้ อักเสบที่ขั้วของเส้นประสาทเส้นที่ 5(trigeminal nerve root entry zone plaques)
5. CNTS โรคแพ้ภูมิตัวเอง

6. เลือดไปเลี้ยงก้านสมองไม่เพียงพอ sickle cell crisis อาจทำให้ปวดเนื่องจากvaso-occlusive disease ทำให้เลือดไปเลี้ยงหน้าไม่พอ หรือ เส้นเลือดตีบที่ก้านสมองส่วน lateral medullary ทำให้ชาหน้าและปวดจากแกนกลางสมองเนื่องจากขาดเลือด(central pain of lower spinal trigeminal tract เนื่องจากไม่ได้สัญญาณ (deafferentation)ของ spinal trigeminal sensory neurons) or osteomylitis ของกระดูกขากรรไกร

7. การติดเชื้อในร่างกาย

8. ได้รับสารพิษ


การรักษา

1. รักษาสาเหตุ เช่น มะเร็ง
2. รักษาอาการปวด แสบ ชา ร้อน ด้วยยารักษาปลายประสาท เช่น gabapentin, pregabalin, ยาแก้ปวดอักเสบ

ด้วยความปรารถนาดี

พญ. อริยา ทิมา

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

สัมมนารู้เท่าทัน...อัมพาตเฉียบพลัน_8

สัมมนารู้เท่าทัน...อัมพาตเฉียบพลัน_7

สัมมนา รู้เท่าทัน...อัมพาตเฉียบพลัน_6

สัมมนารู้เท่าทัน...อัมพาตเฉียบพลัน_5

สัมมนา รู้เท่าทัน...อัมพาตเฉียบพลัน_4

สัมมนา รู้เท่าทัน...อัมพาตเฉียบพลัน_3

สัมมนารู้เท่าทัน...อัมพาตเฉียบพลัน_2

สัมมนารู้เท่าทัน...อัมพาตเฉียบพลัน_1

อาการมือชาจากเส้นประสาทอักเสบ

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หลอดเลือดตีบที่คอ รู้เร็ว-รักษาได้

http://www.ram-hosp.co.th/jan-mar2554.htm


โดยการตรวจด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ อาทิ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และอัลตร้าซาวด์ซึ่งถือเป็นการตรวจที่เป็นสากล มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายน้อยและผู้ป่วยไม่เจ็บตัว จากนั้นจึง รักษาด้วยการทำบอลลูนลักษณะเดียวกับการขยายหลอดเลือดที่หัวใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ป่วยควรสังเกตอาการและมาพบแพทย์ให้เร็ว หรือหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อให้รู้เท่าทันโรคร้าย และรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาวะหลอดเลือดสมองตีบซึ่งเกิดจากไขมันอุดตันว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 3 รองจากมะเร็งและโรคหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี หรือในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน สูบบุหรี่ หรือมีระดับไขมันในเลือดสูง
โอกาสที่จะเกิดกรณีไขมันหรือเศษผนังหลอดเลือดชิ้นเล็กชิ้นน้อยรวมทั้งก้อนเลือดจากหัวใจจะไหลไปอุดตันหลอดเลือดส่วนปลาย
ที่หล่อเลี้ยงสมองของผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนั้นมีความเป็นไปได้เสมอซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วจะเป็นผลให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอและ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการทางระบบประสาท เช่น แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ตามัว หรือตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่ง หรือเห็นภาพซ้อน ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจมีสาเหตุจากหลอดเลือดในสมองตีบตันซึ่งควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว พื่อเข้ารับการตรวจรักษาได้อย่างทันท่วงที
สำหรับการตรวจหาความผิดปกติในผู้ป่วยกลุ่มนี้นั้น สามารถตรวจด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพได้หลายอย่าง อาทิการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง หรืออาจตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และโดยเฉพาะการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดซึ่งนอกจากจะเป็นการตรวจที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล แล้วยังมีความรวดเร็วเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการตรวจด้วยวิธีอื่น ผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บตัวด้วย และช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจนและวางแผนการ
รักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเว้นแต่ว่าสภาพการตีบของหลอดเลือด จะสูงเกินกว่าร้อยละ90หรือมากกว่านั้นก็จะไม่อาจตรวจพบได้

ส่วนใหญ่แล้วหลอดเลือดของผู้ป่วยจะเกิดการตีบตันที่บริเวณลำคอโดยสภาพของการตีบตันมักมาจาการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด และพอกพูนมากขึ้นเรื่อยจนเป็นอุปสรรคขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมองด้วยเหตุนี้การรักษาหลอดเลือดตีบตัน
ด้วยวิธีขยายหลอดเลือดและวางท่อค้ำยัน บริเวณคอจึงเป็นหนึ่งในวิธีหลักที่แพทย์เลือกใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยซึ่งมีภาวะหลอดเลือดตีบอยู่แล้วเกิดภาวะสมองขาดเลือดขึ้นในอนาคต ซึ่งกระบวนการใส่ขดลวดจะคล้ายคลึงกับการสวนหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือด
โดยแพทย์จะใช้อุปกรณ์คล้ายร่มสอดเข้าไปก่อนเพื่อรองรับเศษผนังหลอดเลือดและก้อนเลือดขณะทำการขยายหลอดเลือดอัน
จะช่วยป้องกันมิให้เศษเล็กเศษน้อยดังกล่าวไหลไปอุดตันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จากนั้น จึงทำการสอดสายสวนเข้าไปยัง
หลอดเลือดและสอดขดลวดค้ำยันเข้าไป ณ ตำแหน่งหลอดเลือดเป้าหมายบริเวณลำคอเพื่อค้ำผนังหลอดเลือดไว้และเปิดทางให้เลือดไหลได้สะดวก ตามปกติ

ผู้ที่มีอาการหรือสัญญาณเตือนดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ควรต้องมาพบแพทย์ภายใน 2-3 ชั่วโมง เพราะปัจจุบันมียาที่สามารถสลายก้อนเลือดได้อย่างรวดเร็ว หรือในกลุ่มผู้ที่ยังไม่เกิดอาการเตือนแต่มีปัจจัยเสี่ยงก็ควรปรับพฤติกรรมต่างๆ เช่นลดหรืองดสูบบุหรี่
ทานอาหารประเภทผักให้มากๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อให้รู้เท่าทันโรคและส่งผลให้ การรักษามีประสิทธิภาพอีกทางหนึ่ง นั่นเอง

ภาพงานสัมมนา"จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเสี่ยงต่อโรคอัมพาตแค่ไหน"

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=ramkhamhaenghospital&month=20-02-2012&group=1&gblog=152

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด

บ่ายนี้มีคำตอบ...หลอดเลือดตีบที่คอ5

บ่ายนี้มีคำตอบ...หลอดเลือดตีบที่คอ4

บ่ายนี้มีคำตอย...หลอดเลือดตีบที่คอ3

บ่ายนี้มีคำตอบ...หลอดเลือดตีบที่คอ2

อัมพฤกษ์ อัมพาต

เส้นประสาทอักเสบ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

การรักษา BPPV

1. การรักษาเพื่อลดความรุนแรงของอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน
เช่น ให้หลีกเลี่ยงจากท่าที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ค่อยๆ บริหารให้สามารถค่อยหันหรือทำในท่าที่ทำให้เกิดอาการบ้านหมุนได้ ส่วนใหญ่อาการจะค่อยๆ ทุเลาลงเรื่อยๆ ใน 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะหลัง 1-2 เดือนขึ้นไป
แนะนำให้ระมัดระวังกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการ และมีอันตรายต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เช่น ปีนป่ายที่สูง ดำน้ำ

2. รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด ปัจจุบันยอมรับได้ผลดี
แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ แบบแรกเพื่อเคลื่อนตะกอนหินปูน และ แบบที่ 2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพสมองให้หายเร็วขึ้น

3. รักษาด้วยยา
ไม่มียารักษาเฉพาะสำหรับโรคนี้แต่มียาเพื่อช่วยลดอาการเวียนศีรษะ

4. รักษาด้วยการผ่าตัด
รักษาด้วยวิธีดังกล่าวเบื้องต้นไม่ดีขึี้นใน 6 เดือน - 1 ปี ยังมีอาการตลอดหรือกลับมาเป็นซ้ำบ่อยๆ

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

BPPV วิธีรักษาและวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรค BPPV
วินิจฉัยจากประวัติและอาการ
ประวัติหรืออาการของผู้ป่วยคือ จะเวียนศีรษะขณะเปลี่ยนแปลงท่าของศีรษะ เช่น ระหว่างกำลังล้มตัวลงนอน เงยหน้า ก้มหยิบของ
ร่วมกับตรวจร่างกาย โดยแพทย์จะตรวจยืนยันด้วยการตรวจร่างกายทาง ระบบประสาท หู คอ จมูก โดยมีการตรวจยืนยันจำเพาะด้วยการหมุนศีรษะเพื่อดูลูกตาหมุน ( nystagmus) ที่เรียกว่า Hallpike maneuver และ Supine rolling test ถ้าพบการกระตุกหมุนของลูกตา ร่วมกับที่เวียนศีรษะ เป็นลักษณะที่ชี้บ่งถึงโรคนี้

และอาจตรวจพิเศษการได้ยิน ซึ่งผลควรปกติ ยกเว้นในรายที่มีปัญหาการได้ยินเดิม มีการตรวจยืนยันพิเศษเพิ่ม ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรวจทุกราย ยกเว้นไม่สามารถตรวจร่างกายไม่พบการกระตุกหมุนตาอย่างชัดเจน อาจต้องตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษที่เรียก ENG (Electronystagmography) เพื่อดูการกระตุกของลูกตา

พรุ่งนี้ต่อกันเรื่องการรักษาคะ

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

BPPV หรือ โรคบ้านหมุนขณะเปลี่ยนท่า หรือ โรคบ้านหมุนจากหินปูนหรือตะกอน แคลเซียมในหูชั้นใน

BPPV คือโรคอะไร ?


เป็นโรคเวียนศีรษะ บ้านหมุน จากตะกอนหินปูนในหูชั้นใน เป็นสาเหตุของโรคเวียนศีรษะบ้านหมุนที่พบบ่อยที่สุด มักเกิดจากความเสื่อมของอวัยวะในหูชั้นใน จึงมักพบสูงขึ้นในผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ป่วยอายุน้อยๆ ก็สามารถพบได้ สถิติทั่วไปสามารถพบได้ตั้งแต่อายุ 30-70 ปี พบได้ทั้งสองเพศ พบในหญิงมากกว่าชายเล็กน้อย

เวียนแบบไหน น่าจะเวียนศีรษะจากโรค BPPV ?
ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะ ร่วมกับบ้านหมุน ในขณะเปลี่ยนท่าทางของศีรษะกระทันหัน ประวัติที่พบบ่อย เช่น รู้สึกบ้านหมุน ถ้าเป็นแปล๊บเดียวบางครั้งให้ประวัติว่ารู้สึกวูบๆๆ เหมือนถูกพัก อาจพบตอนที่ตื่นนอนมาบ้านหมุนตอนลุกจากที่นอน หรือล้มตัวลงนอน ขณะพลิกตัวทางขวาหรือซ้าย ก้มหยิบของ เงยหน้าสระผม มักเป็นช่วงสั้นๆ ส่วนใหญ่ไม่เกินหนึ่งนาที
ถ้าเป็นรุนแรงจะมีคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย มักมีอาการร่วมกับช่วงที่มีอากาารบ้านหมุน ซึ่งจะหายไปเมื่อหันศีรษะอยู่ในท่าที่ไม่เวียนศีรษะ
สามารถเวียนศีรษะ บ้านหมุนได้วันละหลายครั้งต่อวัน แต่มักจะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่มักเวียนมากในช่วงสามถึงห้าวันแรก หลังจากนั้นค่อยๆ ดีขึ้น มักหายสนิทประมาณ สองสัปดาห์ถึงสองเดือน
ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเป็นซ้ำ แต่สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หลังจากผ่านไปหลายเดือนหรือปี

ไม่ควรพบอาการอะไรในโรค BPPV?
ผู้ป่วย BPPV ไม่มีอาการหูอื้อ ไม่พบการสูญเสียการได้ยิน หรือ เสียงผิดปกติในหู ยกเว้นในรายเป็นโรคหูเดิมอยู่ก่อน ถ้าพบอาการเหล่านี้ให้สงสัยว่าไม่ใช่ BPPV สามารถพบได้ในโรค Meinere's disease หรือ โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ และ เส้นประสาทหูอักเสบ
ผู้ป่วยไม่ควรมีอาการ ชา แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด เดินเซขณะที่ไม่บ้านหมุนแล้ว ควรรู้ตัวดี ถ้ามีอาการที่กล่าวมาแล้วหรือซึมลง แสดงว่ามีพยาธิสภาพที่ก้านสมอง ซึ่งอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือ เนื้องอกได้

พยาธิกำเนิดและพยาธิวิทยา


ปกติคนเราเวลาหันซ้ายขวา ศีรษะคนเราเคลื่อนไหว ทำให้ลูกตาของเคลื่อนไหวคู่กันไปอัตโนมัติทำให้ภาพที่เรามองยังชัดอยู่ ไม่มีภาพซ้อน
โดยการเคลื่อนของลูกตาเกิดตามคำสั่งของเส้นประสาทหู ซึ่งเกิดจากการสั่งงานของตะกอนแคลเซียมในหูชั้นใน ส่งสัญญาณไปที่สมองและสั่งงานมาที่กล้ามเนื้อลูกตาให้เคลื่อนตามศีรษะที่หมุน ดังภาพด้านบน

ที่นี้ถ้าตะกอนหินปูนมันอยู่ผิดที่ก็ทำให้สัญญาณมันเยอะกว่าปกติ ทำให้เกิดภาวะบ้านหมุนเนื่องจากลูกตาหมุน เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ซึ่งเป็นภาพลวงตาที่เห็นบ้านหรือสิ่งที่อยู่รอบตัวเราหมุน แต่จริงบ้านอยู่เฉยๆ ที่หมุนเนื่องจากลูกตาหมุน ซึ่งภาษาแพทย์เรียกว่า true vertigo นั้นเอง ดังภาพด้านล่าง


พรุ่งนี้ถ้าหมอไม่เหนื่อยมา เรามาดูกันต่อเรื่องการวินิฉัยและรักษาต่อคะ
ขอให้ทุกคนแข็งแรงนะคะ

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

TIA โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดชั่วคราว

เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอกระทันหัน และสามารถกลับคืนปกติได้ในเวลารวดเร็ว ทำให้มีอาการของอัมพฤษอัมพาตชั่วคราว เช่น อ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีกชั่วคราว หรือ จับของไม่ถนัดของหล่นจากมือไม่นาน 5-10 นาที หายได้เอง โดยคำจำกัดความคือหายได้เองใน 24 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ที่มักหายได้เอง มักหายเองได้ใน 5-10 นาที ไม่เป็นนานเกินครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง แต่ถึงแม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ของ TIA หายเองได้ แต่พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเป็นซ้ำและเกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองตามมาถาวรได้ โดยเฉพาะในช่วง 24 ชั่วโมงแรกและ 2 สัปดาห์แรก จึงควรพบแพทย์ทันทีที่มีอาการเพื่อรักษาได้ทันท่วงที ป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำได้อีก


อาการอะไรบ้าง ที่น่าสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และมาพบแพทย์ทันที
ปากเบี้ยว หรือ ชาบริเวณใบหน้า
ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน
ระดับความรู้สึกตัวลงลงอย่างรวดเร็ว
แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างเฉียบพลัน
แขนขาชาครึ่งซีกอย่างเฉียบพลัน
วิงเวียนศีรษะ เดินเซ เฉียบพลัน
เดินเซ เดินลำบาก ทรงตัวไม่ได้ เฉียบพลัน