หญิง 70 ปี ชาลิ้นและคาง ริมฝีปากซ้าย นาน 3 เดือน
ภาษาหมอเรียก Numb Chin Syndrome ( NCS) หรือ บ้านๆ เรียก เส้นประสาทรับความรู้สึกที่คางอักเสบ ( mental neuropathy)
เส้นประสาทส่วนคางนี้ เรียก mandibular branch of trigeminal nerve แบ่งเป็น ด้านหน้า(anterior) กับ ด้านหลัง(posterior)
anterior trunk เลี้ยงกล้ามเนื้อที่ใช้เคี้ยวอาหาร(muscles of mastication)และรับความรู้สึกของแก้ม
posterior trunk แบ่งเข้าไปรับความรู้สึก ในหู(auriculotemporal nerve), ลิ้น(lingual nerve), ฟันเหงือกด้านล่าง(inferior alveolar nerve)
ผ่านทาง mandibular canal exits mental foramen at canine teeth รับความรู้สึก ฟัน เหงือกด้านนอก ริมฝีปากล่าง คาง
พบได้น้อยมาก ที่จะเป็นเฉพาะเส้นประสาทเส้นเดียว posterior trunk of mandibular branch นี้
สาเหตุจากอะไรได้บ้าง
1. มะเร็งกระจายมากดทับที่ inferior alveolar nerve จากมะเร็งในร่างกาย เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด โดยมะเร็งที่พบบ่อยว่าจะกระจายมาคือ ในผู้หญิง มากสุดคือ มะเร็งเต้านมตามด้วย มะเร็ง ต่อมหมวกไต สำไล้ใหญ่ สืบพันธ์เพศหญิง ไทรอยด์ ส่วนผู้ชายคือ มะเร็งปอด ตามด้วย ต่อมลูกหมาก ไต กระดูก ต่อมหมวกไต
โดยมักมาด้วย อาการ ปวด บวม ชาแสบร้อนตามแนวลิ้น ริมฝีปากล่าง เหงือก พบว่า ผู้ป่วยอาจไม่มีประวัติมะเร็งนำมาก่อนได้ถึงประมาณ 30% และมีโรคประจำตัวเป็นมะเร็งอยู่เดิม 50% มะเร็งที่กระจายมาที่กราม ซึ่งบางครั้้งอาจมีกระจายมาที่รากประสาทและปุมประสาทได้ หรือ เกิดจากการกระจายมาที่เยื่อหุ้มสมองที่ฐานกระโหลกได้ โดยส่วนใหญ่พยากรณ์ขึ้นกับชนิดของมะเร็ง
ข่าวร้ายคือ มะเร็งที่กระจายมาที่เส้นประสาทบริเวณขากรรรไกรนี้ ถ้ามีขนาดเล็กมักไม่สามารถมองเห็นได้จากเอกซเรย์ ทำให้อาจต้องทำการเอกซเรย์หลายอย่าง เช่น bone scan เพื่อดูจุด hot spot หรือ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI with gadolinium enhancement)ซึ่งอาจเห็นการเปลี่ยนแปลงในกระดูก( marrow signal)ที่ขากรรไกร
ข่าวดีคือถ้าพบแต่เนิ่นๆ มีการรักษาด้วยการฉายแสงเพื่อลดอาการปวดอักเสบของเส้นประสาท ทำให้อาการหายปวดแสบชาได้
เส้นประสาทที่เกิดจากกระจายมาที่เยื่อหุ้มสมองบริเวณฐานกระโหลก มักเป็น เส้นประสาทที่ 6 และ 7 ร่วมด้วย เนื่องจากอยู่ใกล้ ปมประสาทเส้นที่ 5
มะเร็งเต้มนม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดอาการ NCS ถัดมาคือ มะเร็งต่อมมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia, multiple myeloma)
เพราะฉะนั้นในผู้ป่วยกลุ่มNCSนี้ ถึงแม้ไม่มีประวัติมะเร็งก็ควรจะคิดถึงมะเร็งก่อนเสมอถึงแม้จะยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริง
ในผู้หญิง แนะนำให้ ตรวจเต้านม ทำmammogram เอกซเรย์ปอด หามะเร็งต่อมน้ำเหลือง
2. อุบัติเหตุ เช่น หลังการผ่าตัดบริเวณขากรรไกร ทำฟัน เช่น รักษารากฟัน ถอนฟันกรามซี่ที่สามร่วมกับฉีดยาชาที่บริเวณนี้ ตามหลังการติดเชื้อ เนื้องอกหรือซิสต์ที่ขากรรไกร มะเร็งขากรรไกร
3. เส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงเส้นประสามอักเสบ เช่น temporal arteritis ทำให้ชาคาง ปวดขากรรไกร ปวดศีรษะ รักษาด้วย high dose prednisolone
Sjogren's syndrome(15/92) มาด้วย ชา ไม่ปวดที่คาง ลิ้น เป็นมากขึ้นจะลามไปทั้งเส้นของเส้นประสาทเส้นที่5
4. โรคปลอกหุ้มประสาทส่วนกลางอักเสบ หรือ multiple sclerosis ทำให้ อักเสบที่ขั้วของเส้นประสาทเส้นที่ 5(trigeminal nerve root entry zone plaques)
5. CNTS โรคแพ้ภูมิตัวเอง
6. เลือดไปเลี้ยงก้านสมองไม่เพียงพอ sickle cell crisis อาจทำให้ปวดเนื่องจากvaso-occlusive disease ทำให้เลือดไปเลี้ยงหน้าไม่พอ หรือ เส้นเลือดตีบที่ก้านสมองส่วน lateral medullary ทำให้ชาหน้าและปวดจากแกนกลางสมองเนื่องจากขาดเลือด(central pain of lower spinal trigeminal tract เนื่องจากไม่ได้สัญญาณ (deafferentation)ของ spinal trigeminal sensory neurons) or osteomylitis ของกระดูกขากรรไกร
7. การติดเชื้อในร่างกาย
8. ได้รับสารพิษ
การรักษา
1. รักษาสาเหตุ เช่น มะเร็ง
2. รักษาอาการปวด แสบ ชา ร้อน ด้วยยารักษาปลายประสาท เช่น gabapentin, pregabalin, ยาแก้ปวดอักเสบ
ด้วยความปรารถนาดี
พญ. อริยา ทิมา
MD,Neurologist, Fellow in Stroke & Cerebrovascular Disease and Neurosonology Neurosonology American Society of Neuroimaging certificate รพ.รามคำแหง Ramkhamhaeng Hospital